วันอังคารที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2553

[1678] จำศัพท์ในดิกทั้งเล่ม ทำได้ ถ้าตั้งใจจะจำ!!

สวัสดีครับ
ทุกคนที่เรียนภาษาอังกฤษรู้ว่าศัพท์เป็นสิ่งสำคัญ ถ้ารู้ศัพท์ก็สามารถนำเอาศัพท์ไปฟัง-พูด-อ่าน-เขียน ได้ ถ้าไม่รู้ศัพท์หรือรู้น้อยเกินไป การฟัง-พูด-อ่าน-เขียน ก็ติดขัด เหมือนทำกับข้าวแต่เครื่องปรุงไม่พอ มันน่าอึดอัดรำคาญจริง ๆ

การจำศัพท์
1)ควรเริ่มจำคำที่ง่าย ๆ หรือคำที่ใช้บ่อยก่อน ศัพท์พื้นฐานจะเป็นทุนให้เราเดาและจำศัพท์ชั้นสูงได้เอง
2) ควรมีประโยคตัวอย่างแสดงการใช้ และ
3)มีเสียงคำอ่านให้เราฝึกฟังและพูดตาม ถ้าเราไม่สามารถเปล่งเสียงคำศัพท์ด้วยปากของตัวเอง ก็ยากที่เราจะจำศัพท์คำนั้นได้

มีดิกชันนารีระดับโลกที่รวบรวมศัพท์พื้นฐานที่พบและใช้บ่อยไว้ ผมนำมาไว้ข้างล่างนี้ และทำเครื่องมือพิเศษให้ คือ เมื่อดับเบิ้ลคลิกที่คำศัพท์ ก็จะมีคำแปลภาษาไทยแสดงให้เห็น ด้วยเครื่องมือนี้ ผมเชื่อว่าเราจะจำศัพท์พื้นฐานได้หมดในเวลาไม่นาน

2,000 คำ: Longman Defining Vocabulary คลิก
3,000 คำ: Merriam-Webster's Learner's Dictionary คลิก
3,000 คำ: Oxford 3000 wordlist คลิก
2,500 คำ: Macmillan Defining Vocabulary คลิก
1,500 คำ: VOA Special English คลิก 1 หรือ คลิก 2

วันนี้ผมมานั่งคิดว่า ถ้าสูงจากระดับพื้นฐานนี้ขึ้นไป เราควรจะจำศัพท์อะไร? ก่อนหน้านี้ผมก็มีคำตอบลำลองว่า ไม่จำเป็นต้องท่องจำศัพท์อะไรเพิ่มเติมอีกแล้ว เพราะว่าเมื่อเราใช้ภาษาอังกฤษไปเรื่อย ๆ เราก็จะค่อย ๆ เรียนรู้และจำได้เพิ่มขึ้นไปทีละคำสองคำ มันพัฒนาไปเองตามธรรมชาติตราบที่เรายังคลุกคลีกับภาษาอังกฤษ

แต่ผมมาคิดอีกทีว่า มันมีวิธีอื่นอีกไหมที่จะทำให้เราจำศัพท์ได้เร็วด้วยอัตราเร่ง ไม่ใช่ปล่อยไปตามธรรมชาติ คิดแล้วก็รู้สึกว่า น่าจะใช้วิธีนี้

1)หาดิกสักเล่มหนึ่ง (หรือสักเว็บหนึ่ง) ที่รวบรวมศัพท์ที่สูงกว่าศัพท์พื้นฐาน แต่ไม่เอาศัพท์ที่นาน ๆ เจอที และผมก็ไปเจอที่เว็บนี้
Cobuild Student Dictionary for Learners of English
ซึ่งมีศัพท์อยู่ 13,410 คำ เมื่อเข้าไปดู list คำศัพท์ของเขาก็พบว่า ถ้าเรารู้ศัพท์ที่เขาให้ไว้ จะช่วยให้เราสามารถหาความรู้จากอินเทอร์เน็ตได้สะดวกมากขึ้นอีกเยอะ

2)วิธีจำศัพท์เหล่านี้ ไม่ใช่การท่องอัดเข้าไปในสมอง แต่ด้วยการ
-ทำความคุ้นเคยกับศัพท์โดยการอ่านคำนิยามจากดิก อังกฤษ – อังกฤษ, ศึกษาประโยคตัวอย่าง, อ่านคำแปลจากดิก อังกฤษ – ไทย, ฟังเสียงอ่านคำศัพท์และฝึกพูดตาม
-
เข้าไปเช็คบ่อย ๆ ว่า มีศัพท์คำใดบ้างที่เรารู้ความหมาย, ไม่แน่ใจในความหมาย, หรือไม่เคยเห็นมาก่อนเลย และก็ค่อย ๆ คลิกแต่ละคำเพื่อทำความคุ้นเคย นี่เป็นการเปิดดิก, ทำแบบฝึกหัด, ดูเฉลย, กำหนดใจให้จำ ฯลฯ ทำหลาย ๆ อย่างพร้อมกันไป

เราเปลี่ยนจากการ “ท่อง” ซึ่งชวนให้ “ท้อ” มาเป็นการ “ถาม” ตัวเอง ซึ่งเป็นสิ่ง “ท้าทาย” ว่าเราจำได้มากขึ้นหรือเปล่า !!

ศัพท์ทั้ง 13,410 คำ จาก Cobuild Student Dictionary for Learners of English อยู่ข้างล่างนี้แล้ว ผมทำไว้เป็น 2 list

List ที่ 1: ดูความหมายและประโยคตัวอย่างจาก ดิก อังกฤษ – อังกฤษ
เมื่อเข้าไปแล้ว ให้ คลิก ศัพท์ที่ต้องการศึกษา
A-B-C-D-E-F-G-H-I-J-K-L-M-N-O-P-Q-R-S-T-U-V-W-X-Y-Z

List ที่ 2: ดูความหมาย, ฟังเสียงอ่านคำศัพท์และฝึกออกเสียงตาม, และศึกษาประโยคตัวอย่างจาก ดิก อังกฤษ – ไทย
เมื่อเข้าไปแล้วห้ ดับเบิ้ลคลิก ศัพท์ที่ต้องการศึกษา
A-B-C-D-E-F-G-H-I-J-K-L-M-N-O-P-Q-R-S-T-U-V-W-X-Y-Z

ขอสรุปว่า การจำศัพท์ในดิกทั้งเล่ม นั้นทำได้ ถ้าตั้งใจจะจำ !!


พิพัฒน์
GemTriple@gmail.com

ไม่มีความคิดเห็น: