วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553

[1577]A Tree in a Forest -เหมือนกับใจ คล้ายกับจิต

สวัสดีครับ
ไม่ทราบว่าท่านผู้อ่านเคยเจออย่างผมบ้างหรือเปล่า คือเพื่อนบางคนของผมเขาสนใจธรรมะของพระอาจารย์ท่านใดท่านหนึ่ง เขาก็ซื้อหนังสือธรรมะของพระอาจารย์ท่านนั้นแจกเพื่อนฝูง นี่เห็นชัดว่าเป็นความปรารถนาดี เพราะเมื่อตนเองได้รับประโยชน์จากธรรมะ ก็อยากจะให้คนอื่นได้รับประโยชน์นั้นเช่นกัน แต่เรื่องของเรื่องก็คือว่า เพื่อนไม่สนใจธรรมะ หรือสนใจธรรมะของพระรูปอื่น หนังสือธรรมะที่ซื้อให้เพื่อนจึงไม่ถูกเปิดอ่าน

สิ่งที่เห็นนี้ทำให้ผมนึกไปถึงเรื่องราวสมัยพุทธกาลที่เคยอ่านพบในหนังสือ เขาบอกว่า เวลาที่คนซึ่งสนใจในการแสวงหาธรรมมาพบกัน เขามักจะถามกันว่า ท่านชอบใจธรรมะของใคร ใครเป็นครูเป็นอาจารย์ของท่าน

นี่แสดงชัดเลยว่า ธรรมะนั้นแม้จะเป็นของดี แต่ก็เป็นของดีที่แต่ละคนต่างก็มีสเป๊กของตัวเอง คือถ้าเป็นของดีชนิดที่เราไม่สนใจ มันก็ไม่มีประโยชน์สำหรับเรา เปรียบหยาบ ๆ น่าจะเหมือนร้านอาหาร ซึ่งมักจะมีบางร้านที่เราชอบไปกินมากกว่าร้านอื่น ร้านอาหารก็ขายอาหาร แต่เราก็เลือกที่จะกินอาหารจากบางร้าน พระก็พูดธรรมะ แต่เราก็เลือกที่จะฟังธรรมะจากพระบางรูป อาหารที่เราชอบกินเป็นเช่นไร ธรรมะที่เราชอบฟัง(หรืออ่าน)ก็เป็นเช่นนั้น

ประเด็นที่ผมอยากแสดงความเห็นก็คือ อาหารเป็นสิ่งที่เราต้องกินให้ร่างกาย ถ้าไม่กินติดต่อกันนาน ๆ ร่างกายต้องตาย ธรรมะก็เช่นกัน... เป็นสิ่งที่เราต้องกินให้จิตใจ ถ้าไม่กินติดต่อกันนาน ๆ จิตใจต้องตาย คือเป็นทุกข์... ซึ่งบ่อยครั้งเจ้าตัวก็ไม่รู้ตัวว่าทุกข์นี้เกิดจากจิตใจขาดธรรมะ มันไม่เหมือนทุกข์ทางกายซึ่งเกิดจากการขาดอาหาร ท้องหิวอาหารสังเกตง่าย แต่จิตใจหิวธรรมะสังเกตยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ไม่ค่อยสังเกตจิตใจตัวเอง

เพราะฉะนั้น ในแต่ละวันที่ยังมีชีวิตอยู่นี้ แม้จะเบื่อฟัง ก็ควรได้ฟัง(หรืออ่าน)ธรรมะจากพระรูปใดรูปหนึ่งบ้าง เหมือนบางวันที่แม้จะเบื่ออาหาร ก็ควรต้องกินอาหารบ้าง

ผมชอบใจธรรมะของหลวงพ่อชา ผมรู้สึกว่าจิตใจหายหิวเมื่ออ่านธรรมะที่ท่านสอน

เป็นเวลานานพอสมควรทีเดียวครับ ที่ผมเจอหนังสือเรื่อง A Tree in a Forest ซึ่งผมก็ print ใส่กระเป๋า ไปไหนมาไหนมีเวลาว่างเมื่อใดก็หยิบออกมาอ่าน หนังสือเล่มนี้อ่านง่ายครับ เพราะเป็นคำสอนของหลวงพ่อชาที่เป็นอุปมาธรรมสั้น ๆ ที่แปลจากภาษาไทย มีกว่า 100 ตอน แต่ละตอนอ่านจบได้ในเวลาสั้น ๆ

ท่านลองคลิกดูตอนนี้เลยก็ได้ครับ
ประวัติหลวงพ่อชา และบทนำหนังสือ
ส่วนที่ 1
ส่วนที่ 2
หรือที่ลิงค์ eBook นี้ก็ได้
http://www.ajahnchah.org/pdf/tree-forest.pdf

แต่ผมเพิ่งจะรู้วันนี้เองว่า บางตอนในหนังสือเล่มนี้ได้ตีพิมพ์เป็นภาษาไทยอยู่ในหนังสือชื่อ เหมือนกับใจ คล้ายกับจิต ซึ่งบางตอนมีให้อ่านที่ 3 ลิงค์นี้
http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/lp_cha/lp-cha_58_03.htm
http://www.fungdham.com/download/book/article/cha/019.pdf
http://www.sriprawat.net/88p.pdf

ตอนนี้ผมยังไม่ค่อยมีเวลา ถ้ามีเมื่อใดก็อยากจะ copy ภาษาไทยและภาษาอังกฤษมาเทียบกัน เผื่อท่านใดชอบใจธรรมะของหลวงพ่อชา และสนใจฝึกภาษาอังกฤษ ก็จะได้มีเรื่องให้อ่านคราวเดียวได้ประโยชน์ 2 อย่าง [ถ้าท่านใดมีเวลาและช่วยทำให้ได้ก็จะเป็นประโยชน์มากครับ]

ส่วนท่านใดที่ไม่ได้ชอบใจคำสอนของหลวงพ่อชาแต่อ่านมาถึงบรรทัดนี้ได้ ก็ต้องถือว่าโดยทั่วไปท่านมีใจใฝ่ในธรรมในปริมาณที่สูงทีเดียว ท่านจะเลิกอ่านตรงบรรทัดนี้ก็ได้ครับ แต่ถ้าท่านจะอ่านต่อ ผมก็ขอแนะนำธรรมะภาษาไทยและภาษาอังกฤษของหลวงพ่อชาเล่มอื่น ๆ และ mp3 คำสอน ผมเองได้รับสิ่งดี ๆ จากธรรมะนี้ จึงอยากเชิญชวนให้ท่านได้รับบ้าง
ขอเชิญครับ...

ธรรมะภาษาไทย หลวงพ่อชา
http://www.fungdham.com/book/cha.html
http://www.dhammathai.org/book/bodhiyana0.php
http://www.watnongpahpong.org/acebooks.php
http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/lp_cha/lp-cha-index.htm
http://sites.google.com/site/smartdhamma/lp_cha_teach

ธรรมะภาษาอังกฤษ หลวงพ่อชา
http://www.ajahnchah.org/book/index.php
http://www.ajahnchah.org/index2.htm
http://www.what-buddha-taught.net/
http://en.wikipedia.org/wiki/Ajahn_Chah (เลื่อนลงมาที่ External links และ Teachings)

ฟังธรรม หลวงพ่อชา
http://www.dhammathai.org/sounds/cha.php
http://www.archive.org/details/P_Cha90

วีดิโอ หลวงพ่อชา
http://www.youtube.com/watch?v=qu7mtlbVBOA

ก่อนจบ ยังมีธรรมะอีกหลากหลายให้ท่านเลือกอ่านหรือฟัง ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ที่ลิงค์นี้ครับ
http://freeenglishstudy.blogspot.com/2007/05/blog-post.html

พิพัฒน์
GemTriple@gmail.com

ไม่มีความคิดเห็น: